นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ฯ “มทร.สุวรรณภูมิ” ร่วมนำเสนอนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวทีระดับชาติ ในงาน 2nd RMUT-TRM Day จัดโดย สป.อว ร่วมกับ มทร. ทั้ง 9 แห่ง ภายใต้โครงการแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากร ฯ มีงานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 เรื่อง ถูกนำเสนอในงานคือ “การพัฒนาหุ่นจําลองทางการแพทย์สําหรับฝึกปฏิบัติการฉีดวัคซีน” และ “การพัฒนาซอฟต์แวร์และอุปกรณ์อ่านค่าอากัปกริยาเพื่อช่วยพยุงหลัง “

วันที่ 2 ก.ย.2566 อาจารย์ ดร.เจษฎา  จันทร์ผา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ  ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนที่สามารถถอดประกอบได้ด้วยนวัตกรรมแห่งงานหัตถศิลป์ (Technical Craft) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหัตถกรรมสิ่งทอเสื่อกก พร้อมด้วยทีมนักวิจัยในสังกัด ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.อดุลย์ หาญวังม่วง รองคณบดีรับผิดชอบงานบริหารและพัฒนาระบบ อาจารย์ ดร.นฎาภัสส์ คุ้มกลาง  รองคณบดีรับผิดชอบงานวิชาการและวิจัย  อาจารย์ศิวัตม์ พลอินทร์  อาจารย์ทรงพัน โลกาวี  ผู้ช่วยคณบดี  อาจารย์ ดร.กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์ ผู้ช่วยคณบดี  ร่วมนำเสนองานวิจัยในงานมหกรรมนวัตกรรมการทำงานของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลร่วมกับ ภาคประกอบการครั้งที่ 2 (2nd RMUT-TRM Day) ภายใต้โครงการแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากร ผู้มีศักยภาพของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 25–26 ก.ค.2566 ณ ห้องประชุมบอลรูม โรงแรม โนโวเทล ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต  จัดโดยความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ  และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โดยในงานนี้ อาจารย์ทรงพัน โลกาวี  ผู้ช่วยคณบดี  ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนดาวดวงน้อยในการอภิปรายร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานวิจัย นวัตกรรม รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่สาธารณชนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาประเทศและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่นยืนต่อไป


สำหรับหัวข้องานวิจัยที่ได้นำเสนอในงานนี้ ประกอบด้วยหัวข้อ  1. หัวข้อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนที่สามารถถอดประกอบได้ด้วยนวัตกรรมแห่งงานหัตถศิลป์ (Technical Craft) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหัตถกรรมสิ่งทอเสื่อกก

โดย อาจารย์ ดร.เจษฎา  จันทร์ผา 2.หัวข้อ การใช้เครื่องมือฝึกการนอนตะแคงเพื่อลดการนอนหยุดหายใจขณะหลับ โดย อาจารย์ ดร.อดุลย์ หาญวังม่วง รองคณบดีรับผิดชอบงานบริหารและพัฒนาระบบ

3. หัวข้อ การปรับปรุงกระบวนการหมักคอมบูชา (KOMBUCHA)และการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ โปรไบโอติกส์จากสารสกัดสู่เชิงพานิชย์  โดย อาจารย์ ดร.นฎาภัสส์ คุ้มกลาง

 4. หัวข้อ การพัฒนาหุ่นจําลองทางการแพทย์สําหรับฝึกปฏิบัติการฉีดวัคซีน โดย อาจารย์ศิวัตม์ พลอินทร์

5.หัวข้อ การพัฒนาซอฟต์แวร์และอุปกรณ์อ่านค่าอากัปกริยาเพื่อช่วยพยุงหลัง โดย  อาจารย์ทรงพัน โลกาวี   

6.   หัวข้อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์(นาโน) กระดูกไก่ดำ ลดปวดเมื่อย แก้อักเสบของข้อต่อ-กล้ามเนื้อ โดย อาจารย์ ดร.กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์

แชร์ไปยัง: