Software Automated Library

โครงการห้องสมุดอัตโนมัติ

     สืบเนื่องจากการที่ห้องสมุดในประเทศไทยเริ่มก้าวสู่การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างเป็นรูปธรรมในช่วง พ.ศ.2530 – 2531 โดยมีห้องสมุดประมาณ 20 แห่ง โดยแต่ละแห่งได้จัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมของห้องสมุด ซึ่งส่วนใหญ่จัดทำบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรม Micro CDS/ISIS ซึ่งยูเนสโกให้ใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ต่อมาในปี พ.ศ.2533 ไอดีพีได้จัดซื้อและติดตั้งโปรแกรมระบบห้องสมุดสำเร็จรูปให้กับสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือ ระบบ SEA-URICA โดยใช้ระบบการจัดทำรายการสืบค้นและระบบการสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ ระบบ URICA ถือเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่นำเข้าสู่วงการห้องสมุดอัตโนมัติของประเทศไทย ต่อมามีห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่งจัดซื้อระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำเร็จรูปซึ่งพัฒนาโดยบริษัทในต่างประเทศมาใช้ ตัวอย่างเช่น ระบบ DYNIX TINLIB INNOPAC หรือ C2 เป็นต้น ในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติดังกล่าว นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแล้ว ห้องสมุดจะต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมทุกห้องสมุดแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 30 ล้านบาท นับเป็นงบประมาณจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะคงภาวะเช่นนี้อีกนานหากห้องสมุดต่างๆ ยังไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า

     สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อให้สถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ห้องสมุดอัตโนมัติและค่าบำรุงรักษา ให้กับมหาวิทยาลัย/สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และเพื่อรองรับการขยายตัวของวิทยาลัยต่างๆ โรงเรียน และหน่วยงานอื่น ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมนี้ได้มีมหาวิทยาลัย/สถาบัน ขอเสนอโครงการเข้าร่วมพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ประกอบด้วย

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อสถาบันอุดมศึกษาไทย (Automated Library System for Thai Higher Education Institutes : ALIST) มีจุดกำเนิดมาจากแนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติขึ้นมา ใช้งานเองเพื่อทดแทนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ DYNIX (Commercial Software) โดยในปีพ.ศ. 2541
  • ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 1.0 ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Visual Basic 5.0/6.0 คู่กับระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE
  • ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 2.0 ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Visual Studio .NET เวอร์ชัน 2002 คู่กับระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE ในเวอร์ชันนี้ได้เริ่มต้นใช้เทคโนโลยี Web Services และได้เปิดตัวการสืบค้น OPAC ผ่านทาง Web Browser ทำให้สามารถเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการได้มากยิ่งขึ้น
  • ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเวอร์ชัน 3.0 เป็นเวอร์ชันที่ ALIST ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา โดยทางสกอ. ได้กำหนดข้อบังคับการพัฒนา(TOR) เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
“KMUTT-LM” Library Automated System
Prominent Point
  • Unlimited User Access
  • Online Patron Management
  • Global Update
  • Fully Support ISO 2709
  • Internationalization Support
  • Support 255 Media Type
  • Offline Circulation
  • Unix/Linux Base
  • O/S, Software, and Database are Free Licenses
Module
  1. OPAC Module
  1. Catalog Module
    • Featured
      • New/Edit Record
      • Record List
      • Rapid/Global Update
      • Template Manager
      • Import/Export
      • Statistic
      • Heading Change
      • Report
  1. Serials Module
    • Featured
      • Serials Processing
      • Creating Checkin Records
      • Creating Checkin Card
      • Checking in Serials Issues
      • Printing Labels
      • Claiming Late Issues
      • Claiming Serial Issues
  1. Circulation Module
    • Featured
      • Patron Management
      • Reservation
      • Rapid Update
      • Course Reserve
      • Statistic
      • Item Info
      • Notice
      • Offline Sync
      • Report
  1. Acquisition Module
    • Featured
      • Acquisition Initialization
      • Request Management
      • Fund Management
      • Check Price
      • Order
      • Check-in Delivered Resources
ข้อมูลเพิ่มเติม
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib

@General Functionality

  • เป็นระบบที่มีความสามารถในการจัดซื้อจัดหา จัดระบบทรัพยากรสารสนเทศและจัดบริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • รองรับมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบ MARC 21
  • การรองรับข้อมูลภาษาไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล (Tis-620, UTF-8, Unicode)
  • การถ่ายโอนข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐาน ISO-2709
  • รองรับมาตรฐานการติดต่อสื่อสารระหว่างฐานข้อมูลแบบ Z39.50 Client
  • มีแผนการบำรุงรักษาระบบและการบริการหลังการติดตั้งบำรุงรักษาทั่วประเทศ
  • มีลิขสิทธิ์การใช้งานถูกต้องตามกฎหมายพร้อมหนังสือรับรองและคู่มือการปฏิบัติงาน
 
@Core System ประกอบด้วย
  • ระบบบริหารจัดการ (Policy management module)
  • ระบบการทารายการ (Cataloging module)
  • ระบบการบริการยืม-คืน (Circulation module)
  • ระบบการสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC and utility module)
  • ระบบควบคุมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials control module)
  • ระบบการจัดซื้อจัดหา (Acquisition module)
 

@Impact for Librarians

  • มี User interface ในรูปแบบของกราฟิกและเมนูเป็นภาษาไทย
  • มี Help Function สำหรับให้คำแนะนำ และเป็นคู่มือช่วยเหลือขณะทำงาน
  • มีปฏิทินกลางกำหนดวันและเวลาทำการตามความต้องการของห้องสมุด
  • ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้ตามสิทธิ
  • รองรับการปรับแก้โปรแกรม (Customized) ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อให้สามารถรองรับการทำงานปัจจุบันของห้องสมุด
  • ไม่จำกัดจำนวนระเบียน (Record) ในฐานข้อมูล เช่น จำนวนบรรณานุกรมจำนวนตัวเล่ม ข้อมูลสมาชิก
  • มีระบบการสำรองข้อมูลและการนำข้อมูลกลับมาใช้งาน(สำรองระบบฐานข้อมูล, สำรองข้อมูล MARC 21)
 
  • สามารถกำหนดรอบเวลาที่ผู้ดูแลระบบกำาหนดทั้งแบบอัตโนมัติแบบกึ่งอัตโนมัติ หรือแบบ Command line จาก DBMS
  • มีแผนฉุกเฉินรองรับการทำงานในกรณีที่เครื่องแม่ข่ายไม่สามารถทำงานได้ เช่น การให้บริการยืม-คืนแบบ Offline
  • ไม่ยึดติดกับระบบเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพียงรายใดรายหนึ่ง
  • สามารถรองรับระเบียน (Bib record) บรรณานุกรมภาษาต่างๆอย่างไม่จำกัด และใช้รหัสอักษรเป็น UTF-8 ได้
  • มี Web Services และพารามิเตอร์ของ Web Services เพื่อเชื่อมต่อกับระบบภายนอก
  • มีฟังก์ชั่นสาหรับให้บริการแบบ Library 2.0 ในรูปแบบเดียวกับ VuFind
  • มีฟังก์ชั่นสนับสนุนการจัดหมู่และ Class ความรู้ของ Collection เฉพาะทาง เช่น เทคโนโลยีการเกษตร การแพทย์ การจัดการ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม

     ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับมหาวิทยาลัย/สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยต่างๆ และสถาบันการศึกษาอื่น ได้ใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เป็นของคนไทยพัฒนาขึ้นเอง และเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อระบบใหม่ และบำรุงรักษา โดยที่ความสะดวกสบายไม่แตกต่างกันมาก และเป็นการยกระดับความพร้อมของห้องสมุดในการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไร้ข้อจำกัด อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศโดยรวม

แชร์ไปยัง: