“สุขภาวะดิจิทัล” คนไทยยังน่าห่วงเสี่ยงต่อการใช้ดิจิทัลไม่เหมาะสม!! ทุกวันนี้เรื่อง “ดิจิทัล” ได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของคนไทย อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะสามารถช่วยอำนวย ความสะดวก

ทุกวันนี้เรื่อง “ดิจิทัล” ได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของคนไทย อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะสามารถช่วยอำนวย ความสะดวกทำให้การใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นในทุกเรื่อง

แต่เรื่อง “ดิจิทัล” ก็เหม่อนเหรียญสองด้าน มีทั้งด้านดีและเสีย เมื่อเหล่ามิจฉาชีพฉวยโอกาสในการใช้ เป็นเครื่องมือใน การหลอกหลวง สร้างความเสียหายให้กับประชาชนไม่น้อย!!

 

ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้เก็บข้อมูลสถิติการแจ้งความออนไลน์  พบว่า ตั้งแต่ 1 มี.ค.65- 31 พ.ค.66 ได้รับแจ้งความออนไลน์ สูงถึง 2.96 แสนเรื่อง เป็นคดีออนไลน์สูงถึง 2.7 แสนเรื่อง รวมมูลค่าความเสียหายสูงถึง 3.8 หมื่นล้านบาท!!

 

หรือมีการแจ้งความเฉลี่ย 525 คดีต่อวัน ความเสียหายเฉลี่ย 74 ล้านบาทต่อวัน!!

 

จะเห็นได้ว่า การเข้าถึงดิจิทัล ที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้อาชญากรรมทางออนไลน์ ก็พุ่งสูงขึ้นด้วย!?! สร้างความตะหนัก และ รู้เท่านั้น เรื่องดิจิทัล จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันคนไทยก็เข้าถึงโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น โดยเฟสบุ๊ค มียอดการใช้งาน 48.1 ล้านคน ยูทูบ 43.9 ล้านคน ติ๊กต็อก  จำนวน 40.8 ล้านคน และทวิตเตอร์ 14.6 ล้านคน  โลกดิจิทัล จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว ของคนไทย อีกต่อไป ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ!!

แต่ปัจจุบันคนไทย “ทักษะด้านดิจิทัล” มากน้อยแค่ไหน ทาง เอไอเอส จีงได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี( มจธ.)  เปิดตัว ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)  ซึ่งถือเป็นการสร้างมาตรวัดทักษะทางดิจิทัลขึ้นเป็นฉบับแรกของไทย!!

ที่ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล  ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use), ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy), ทักษะ ด้านการสื่อสารและ การทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration), ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights), ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety), ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) และทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship)

โดยทำการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน โดยมีเกณฑ์ คือ  ระดับสูง (Advanced) : สามารถใช้งาน และส่งเสริมให้ผู้อื่น ใช้งาน เทคโนโลยีดิจิทัลได้เป็นอย่างดี สามารถแนะนำคนรอบข้างได้

ระดับพื้นฐาน (Basic) : มีความรู้ และสามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และ ระดับต้องพัฒนา (Improvement) : มีความรู้ และความสามารถไม่เพียงพอที่จะใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีความเสี่ยงต่อการใช้งานในโลกไซเบอร์

ซึ่งผลสำรวจพบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน 33.51% แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้อง สร้างความรู้ความเข้าใจ ในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น!! เนื่องจากระดับต้องพัฒนา เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการใช้ดิจิทัลได้อย่างไม่เหมาะสม!?!

ทั้งนี้หากแบ่งตามช่วงอายุ พบว่า  ผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) เป็นกลุ่มอายุเดียวที่มีค่าเฉลี่ยของดัชนีชี้ วัดสุขภาวะทางดิจิทัลอยู่ในระดับต้องพัฒนา (Improvement) ส่วนในกลุ่มอายุอื่นๆ อยู่ในระดับพื้นฐาน และกลุ่มที่มีค่าดัชนีชี้วัดสูงที่สุดคืออายุ 16-18 ปี

สำหรับหากแบ่งตามอาชีพ พบว่า ผู้ที่มีอาชีพพนักงานของรัฐมีระดีบดัชะนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัลใน ภาพรวมสูงสุดที่ 0.78  รองลงมา คือ อาชีพรับราชการ 0.67  นักเรียน และนักศึกษษ  0.59 และข้าราชการบำนาญ 0.47  โดยถือว่าอยู่ในระดับพื้นฐาน

 ส่วนผู้ที่ว่างงาน 0.42 พนักงานบริษัทเอกชน 0.41  ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 0.38  รับจ้างทั่วไป 0.33   รัฐวิสาหกิจ 0.31 และเกษตรกร 0.24 ซึ่งอยู่ในระดับต้องพัฒนา!!

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูผลสำรวจแบ่งตามภูมิภาคพบว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีค่าเฉลี่ยดัชนีชี้วัดสุขภาวะ ทางดิจิทัลในภาพรวมสูงที่สุด ที่ 0.61  โดยอยู่ในระดับพื้นฐาน รองลงมาคือ ภาคอีสาน 0.59 ภาคกลาง  0.50 ภาคตะวันออก  0.52  ภาคใต้  0.49  โดยอยู่ในระดับพื้นฐาน ส่วนภาคตะวันตก อยู่ที่ 0.40  และภาคเหนือ  0.33  อยู่ในระดับต้องพัฒนา ตามลำดับ

“สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส บอกว่า “จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล ของคนไทย ทำให้เห็นจุดที่ต้องพัฒนาทักษะเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานในอีกหลายประเด็น  ซึ่ง ทาง เอไอเอสพร้อมด้วยพันธมิตรพร้อมเดินหน้าทำงานเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วย พัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน”

“โลกดิจิทัล”มีทั้งคุณและโทษ การเสริมทักษะดิจิทัลให้กับประชาชน จะช่วยสร้าง “พลเมืองดิจิทัล” ที่มีคุณภาพให้กับประเทศต่อไป

แชร์ไปยัง: