อว. ยินดีเยาวชนระดับอุดมศึกษาชนะการแข่งขันควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ครั้งที่ 3 มุ่งสนับสนุนการพัมนาระบบการศึกษาสู่อุตสาหกรรมโลกอนาคต

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ร่วมงาน “การแข่งขันควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ครั้งที่ 3” พร้อมมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะ โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี มี รศ.ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา Ms.Nadja stand ผู้แทนสมาคมดิแดคต้า หน่วยงานภาคีเครือข่าย และผู้สนใจเข้าร่วมงาน ณ ฮอลล์ 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

รศ.ดร.เสถียร กล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญที่ทำให้นักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะสายอาชีวศึกษาได้แสดงถึงศักยภาพทางด้านความรู้และทักษะปฏิบัติเพื่อพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมืออาชีพ ผ่านความร่วมมือจาก สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา บริษัท ซีเทค ไดแด็คติค จํากัด และบริษัทดิแดคต้า เอเชีย เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีสมัยใหม่ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาวิชาชีพด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะให้เกิดศักยภาพและสมรรถภาพ พร้อมเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ถือเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะขั้นสูง มุ่งเน้นการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็น รวมถึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้เราได้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ผ่านการควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยไปสู่โลกอนาคต

ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ครั้งที่ 3 และได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ประเภทที่ 1 การแข่งขันการควบคุมหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี CMT (ROBOT WELDING) ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประเภทที่ 2 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบการผลิตอัตโนมัติด้วยการไฟฟ้าทั้งระบบ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ประเภทที่ 3 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมพีแอลซีควบคุมชุดทดสอบการไฟฟ้า ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ประเภทที่ 4 การแข่งขันการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยโปรแกรม CAD/CAM (3D) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

ประเภทที่ 5 การแข่งขันตรวจสอบชิ้นงานอุตสาหกรรมด้วยเครื่อง 3D LASER SCANNER ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ประเภทที่ 6 การแข่งขันการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเสมือนจริง (ด้วยเครื่องซอฟต์แวร์ EMULATE 3D) ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ

ประเภทที่ 7 การแข่งขันการสร้างคลังสินค้าอัตโนมัติและโลจิสติกส์ (โดยซอฟต์แวร์ EMULATE 3D) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี 

 

ที่มา : https://www.mhesi.go.th/index.php/news-and-announce-all/news-all/executive-ps-news/10736-4-0-3.html

แชร์ไปยัง: