UniNet ร่วมสัมภาษณ์ออกรายการ Chance For Future โอกาสแห่งอนาคต ทาง ททบ.5
22 กันยายน 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประมา ศาสตระรุจิ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา (UniNet) ร่วมสัมภาษณ์ออกรายการ Chance For Future โอกาสแห่งอนาคต ทาง ททบ.5 ในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนและวิจัย ณ สป.อว.อาคารอุดมศึกษา 1 ชั้น 9 ห้อง Data Center โดยการสัมภาษณ์ในครั้งนี้
เพื่อแนะนำการศึกษาวิจัยของประเทศ เชื่อมโยงไปยังสถาบันการศึกษาและหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัย ด้วย “เครือข่ายเฉพาะกิจ” และเป็นเครือข่ายสารสนเทศเดียวที่สามารถเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายเพื่อการศึกษาทั่วโลก เช่น เครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยเอเชียและแปซิฟิค (APAN: Asia Pacific Advanced Network) เครือข่าย เพื่อการศึกษาวิจัยญี่ปุ่น (JGN: Japan Gigabit Network)
ซึ่งเป็นเครือข่าย High Speed R&D Network Testbed ที่มาสนับสนุนการพัฒนาและวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยของสหรัฐอเมริกา Internet2 สมาชิกเครือข่ายของเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
และวิจัย เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานวิจัย รวมเป็นจำนวน 10,762 แห่ง โดยหน่วยงานทางการศึกษา อาทิเช่น สำนักทดสอบกลางแห่งชาติ (สศท) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ) (องค์การมหาชน) สถาบันพระปกเกล้า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อย สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สังกัดกระทรวงกลาโหม วิทยาลัยพยาบาลต่างๆ โรงพยาบาลสังกัดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราชฯ โรงพยาบาลรามาฯ นอกจากนี้ หน่วยงานทางการวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : GISTDA ผู้ใช้งานเครือข่าย
จะเป็นบุคลากรทางการศึกษาและวิจัย ได้แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และนักวิจัยที่อยู่ที่สถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อการศึกษาวิจัยระดับชาติ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกัน พัฒนาองค์ความรู้สู่สังคม เป็นโครงการที่มุ่งสร้างคน พัฒนาการเรียนการสอนแบบไร้ขีดจำกัด
เพื่อแนะนำการศึกษาวิจัยของประเทศ เชื่อมโยงไปยังสถาบันการศึกษาและหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัย ด้วย “เครือข่ายเฉพาะกิจ” และเป็นเครือข่ายสารสนเทศเดียวที่สามารถเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายเพื่อการศึกษาทั่วโลก เช่น เครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยเอเชียและแปซิฟิค (APAN: Asia Pacific Advanced Network) เครือข่าย เพื่อการศึกษาวิจัยญี่ปุ่น (JGN: Japan Gigabit Network)
ซึ่งเป็นเครือข่าย High Speed R&D Network Testbed ที่มาสนับสนุนการพัฒนาและวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยของสหรัฐอเมริกา Internet2 สมาชิกเครือข่ายของเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
และวิจัย เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานวิจัย รวมเป็นจำนวน 10,762 แห่ง โดยหน่วยงานทางการศึกษา อาทิเช่น สำนักทดสอบกลางแห่งชาติ (สศท) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ) (องค์การมหาชน) สถาบันพระปกเกล้า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อย สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สังกัดกระทรวงกลาโหม วิทยาลัยพยาบาลต่างๆ โรงพยาบาลสังกัดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราชฯ โรงพยาบาลรามาฯ นอกจากนี้ หน่วยงานทางการวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : GISTDA ผู้ใช้งานเครือข่าย
จะเป็นบุคลากรทางการศึกษาและวิจัย ได้แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และนักวิจัยที่อยู่ที่สถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อการศึกษาวิจัยระดับชาติ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกัน พัฒนาองค์ความรู้สู่สังคม เป็นโครงการที่มุ่งสร้างคน พัฒนาการเรียนการสอนแบบไร้ขีดจำกัด